กรกฎาคม 20, 2024

ความเครียดในผู้เฝ้าไข้

ผู้ดูแลผู้สูงอายุ บางที จะเป็นญาติใกล้ชิดผู้ป่วย หรือ เป็นผู้ช่วยพยาบาล หรือพนักงานเฝ้าไข้ ซึ่งจะมีหน้าที่ เฝ้าไข้ คอยดูแลอยู่กับผู้ป่วย คอยปรนนิบัติ ดูแลพยาบาลในกิจวัตรประจำวันพื้นฐานต่างๆของผู้ป่วย

ความเครียดในผู้เฝ้าไข้

You are here:

ผู้ดูแลผู้สูงอายุทำหน้าที่อะไรบ้าง?

ผู้ดูแลผู้สูงอายุ บางที จะเป็นญาติใกล้ชิดผู้ป่วย หรือ เป็นผู้ช่วยพยาบาล หรือพนักงานเฝ้าไข้ ซึ่งจะมีหน้าที่ เฝ้าไข้ คอยดูแลอยู่กับผู้ป่วย คอยปรนนิบัติ ดูแลพยาบาลในกิจวัตรประจำวันพื้นฐานต่างๆของผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ ที่มีโรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรังต่างๆ อาทิเช่นโรคมะเร็ง อัมพฤกษ์ อัมพาต อ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ หรืออ่อนแรงของร่างกายครึ่งซีก โรคเบาหวาน สมองเสื่อม หลงลืม หรือ อัลไซเมอร์

หน้าที่หลักๆของผู้ช่วยพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ มีดังนี้

• ยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
• พลิกตัวผู้ป่วย
• อาบน้ำ ดูแลความสะอาดของร่างกาย
• ช่วยแต่งตัวให้ผู้ป่วย และดูแลความสะอาดเครื่องแต่งกาย
• ป้อนอาหาร หรือให้อาหารทางสายยาง กับผู้ป่วย
• เตรียมอาหาร ปรุงอาหารให้กับผู้ป่วย
• ช่วยเป็นธุระจัดซื้อของ หากผู้ป่วยต้องการซื้อหาข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ
• ช่วยผู้ป่วยนำเงินไปชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วย
• เป็นธุระ หรือช่วยผู้ป่วย,ผู้สูงอายุ ปฏิบัติภาระกิจต่างๆ
• จัดเตรียม และให้ยากับผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ
• อยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ
• ให้กำลังใจ และทำให้ผู้ป่วยเบิกบาน

ทำไมงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุ, ผู้ช่วยพยาบาลเป็นงานที่หนัก?

ผู้ป่วย หรือผู้สูงวัยเป้นผู้ที่เจ็บป่วย จะไม่ค่อยรับรู้ในสิ่งต่างๆ ดังนั้นท่านเหล่านี้หลายครั้งไม่ค่อยร่วมมือในการดูแลรักษา ทำให้ยากแก่การปรนนิบัตร ในหลายโอกาส ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุนี้ อาจจะมีบุคคลิกภาพที่แปรเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนก่อนที่จะเจ็บป่วย โดยเฉพาะหากผู้ป่วยท่านนั้นป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม ทำให้ญาติที่ดูแลผู้ป่วยบางครั้งรู้สึกตึงเครียดไปกับความเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย

บางครั้งผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่เราดูแล อาจจะมีอารมณ์แปรปรวน หรือก้าวร้าวได้ บางครั้งอาจตะโกน ด่าทอ หรือทำร้ายผู้ดูแล ทำให้ผู้แลเกิดความเครียด

อาการที่แสดงว่าผู้เฝ้าไข้เกิดความเครียดจากงาน

Common signs of caregiver stress include the following:
• หงุดหงิดง่าย ดูไม่มีความสุข หรือเบื่อหน่ายกับชีวิต
• ร้องไห้เก่งขึ้น
• ขาดความกระตือรือร้น ไม่ค่อยมีพลังหรือแรงกระตุ้นในการทำงาน
• รู้สึกไม่มีเวลาให้กับตนเองพอ
• นอนหลับยากขึ้น และพอต่นขึ้นก็ไม่อยากลุกออกจากเตียง
• มีปัญหาด้านการทาน อาจทานมาก หรือน้อยกว่าปกติที่เคยเป็น
• ไม่ค่อยออกไปเจอญาติมิตร เพื่อนฝูง
• ไม่ค่อยสนใจในงานอดิเรก หรือกิจกรรมที่ตนเองเคยสนใจทำ หรือเข้าร่วม
• รู้สึกโกรธผู้ที่เราดูแล, คนหรือสภาวะการณ์ รอบข้าง
นอกจากนี้แล้ว งานของผู้ช่วยพยาบาลเป็นงานที่หนัก และในหลายครั้งผู้ช่วยพยาบาลก็อาจจะไม่ได้รับคำขอบคุณ หรือชมเชยจากผู้ป่วย หรือคนรอบข้าง ทำให้ขาดกำลังใจได้

ข้อพึงปฏิบัติหากทราบว่าเรามีความเครียดจากงาน หรือการเฝ้าไข้

จริงๆแล้วความรู้สึกเครียดกับงานเฝ้าไข้นี้สามารถเกิดได้ เพราะงานเฝ้าไข้ หรืองานดูแลผู้ป่วยเป็นงานที่สามารถก่อให้เกิดความเครียดได้ง่าย ซึ่งหากท่านไม่ลองมาทำงานนี้เอง ก็จะไม่ทราบว่างานเฝ้าไข้ หรือดูแลผู้ป่วยนี้เป็นงานที่ต้องเสียสละและอดทนอย่างสูง หากเราไม่ดูแลรักษาตัวเราให้ดี เราก็ไม่สามารถมีกำลังกาย กำลังใจที่จะไปดูแลผู้อื่นได้

ดังนั้นหากท่านมีความเครียดที่เกิดจากงานเฝ้าไข้ หรือดูแลผู้ป่วยนี้ ท่านน่าจะไปปรึกษากับแพทย์, ญาติมิตร หรือเพื่อนฝูงที่ท่านไว้ใจ และขอความช่วยเหลือให้มาช่วยท่านผ่อนเบาภาระการดูแลผู้ป่วยบ้าง และอย่ารู้สึกไม่ดีหรือรู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ ที่ท่านต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น

นอกจากนี้แล้วท่านอาจจะลองสำรวจว่าแถวชุมชนของท่านมีโครงการ หรือบริการใดๆ ที่จัดเตรียมไว้สำหรับบริการผู้สูงอายุในรูปแบบใด ที่ท่านและผู้สูงอายุจะมาร่วมใช้บริการได้