กรกฎาคม 19, 2024

อัลไซเมอร์ / หลงลืม

อัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของสมอง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะสมองส่วนที่เกี่ยวกับความคิด ความจำ และการใช้ภาษา

อัลไซเมอร์ / หลงลืม

You are here:

อัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของสมอง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะสมองส่วนที่เกี่ยวกับความคิด ความจำ และการใช้ภาษา

“อัลไซเมอร์พบได้มากในผู้ใด”

อัลไซเมอร์ พบมากในกลุ่มผู้สูงวัย และกลุ่มผู้ป่วยโรคนี้มีมากกว่า 30 ล้านคนทั่วโลก พบผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ในทุกเชื้อชาติ แต่พบว่าผู้หญิงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย

“การดำเนินของโรค”

ตามธรรมชาติของโรค อาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นี้ จะเป็นมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อาการระยะเริ่มต้นของโรค จะสังเกตุได้ยาก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยจะเริ่มสูญเสียความสามารถในการคิด ขาดเหตุผล ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ ขาดสมาธิ หลงลืม ไม่สามารถดูแลตนเองได้ หรือหากเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยก็จะพูดไม่ได้ โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมหรือบุคคลิกภาพ

“การป้องกัน รักษาและชลอการดำเนินโรค”

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผลการวิจัยต่างๆพบว่ากิจกรรมต่างๆข้างล่างนี้ จะช่วยป้องกันหรือชลอการดำเนินไปของโรคได้

– ทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
– หลีกเลี่ยงความเครียด
– เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ และมีกิจกรรมสังคม กับญาติมิตร เพื่อนฝูง
– ฝึกฝนการใช้สมอง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะช่วยชลอความเสื่อมของสมองได้

“การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์”

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ที่ยังไม่มีอาการมาก ก็ต้องการ การดูแลอย่างใกล้ชิด และต้องการความช่วยเหลือ ในกิจวัตรประจำวันต่างๆ อาทิเช่น การดูแลเรื่องอาหารการกิน การจับจ่าย หรือซื้อข้าวของต่างๆ แต่หากผู้ป่วยมีอาการมากขึ้น ก็จะต้องการการดูแลที่มากขึ้นไปด้วย เพราะผู้ป่วยจะหลงลืม จำบุคคลใกล้ชิดไม่ได้ ประกอบกิจวัตรประจำวันต่างๆที่ตนเองเคยทำประจำไม่ได้ เช่น อาบน้ำ ทานอาหาร แต่งตัว ผู้ป่วยจะมีสับสนแม้กับสิ่งแวดล้อมที่ตนคุ้นเคย ในระยะท้ายๆของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยจะไม่สามารถจำญาติ หรือเพื่อนสนิทได้ สูญเสียทั้งความจำระยะสั้น และระยะยาว

โดยทั่วไปผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 10 – 20 ปี ผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นอัลไซเมอร์บางท่าน อาจจะมีอาการซึมเศร้า วิตก กระสับกระส่าย หากอาการเป็นมากขึ้น บางท่านอาจมีอาการโมโหหงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย ผู้ป่วยหลายท่านแม้ป่วยเป็นอัลไซเมอร์มากแล้ว ก็มักไม่ทราบถึงขีดจำกัดความสามารถตน ยังคงมองว่าตนเอง ยังสามารถทำอะไรหลายๆอย่างได้อยู่

ระยะท้ายของผู้ป่วยอัลไชม์เมอร์ จะมีความสับสนมาก และต้องพึ่งพาคนมากขึ้น ร่างกายผู้ป่วยจะทรุดโทรมลง ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้มาก มักต้องนั่ง หรือนอนเป็นประจำ